messager
place สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวกุยบุรี




อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอปราณบุรี กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงาม เพื่อให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และรื่นรมย์ของประชาชน มีเนื้อที่ประมาณ 605,625 ไร่ หรือ 969 ตารางกิโลเมตร ความเป็นมา : จากสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบันพบว่า พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายจนน่าวิตกว่าจะมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดกรณีอันน่าสลด หากไม่เร่งดำเนินการรักษาสภาพธรรมชาติเอาไว้ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่ง ที่ 475/2532 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2532 ให้ นายจุมพล เจริญสุขพาณิชย์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานปราณบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเก่า-คลองคอย และกรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้นายสรรเพชร ราคา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ผลการสำรวจพบว่า สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นป่าผืนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกติดต่อกับชายแดนพม่า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจมากมาย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่งราษฎรได้บุกรุกพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูก ส่วนใหญ่ทำไร่สับปะรด และเป็นที่อยู่อาศัย ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจที่ กษ 0713(กร)/19 ลงวันที่ 29 มกราคม 2536 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2537 สมควรกำหนดพื้นที่ป่ากุยบุรีให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการเพิกถอนป่ากุยบุรี และดำเนินการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 605,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่ากุยบุรี ในท้องที่ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี ตำบลศิลาลัย ตำบลศาลาลัย ตำบลไร่เก่า ตำบลไร่ใหม่ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี ตำบลหาดขาม ตำบลสามกระทาย ตำบลกุยบุรี และตำบลบ่อนอก ตำบลอ่าวน้อย ตำบลเกาะหลัก ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 20ก วันที่ 25 มีนาคม 2542 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 90 ของประเทศ

info_outline วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
วิสัยทัศน์
“มีเป้าหมายนำพา องค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี ให้มีศักยภาพและขีด ความสามารถการพัฒนาในทุกด้าน ๆ ภายใต้หลักของการกระจายอำนาจ เพื่อให้ประชาชนชาวกุยบุรีมีความเป็นอยู่ และสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

พันธกิจ
1. ส่งเสริม สนับสนุน ดำเนินงาน ให้ได้มาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยว 2. ส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 ส่งเสริม สนับสนุน การศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ 4. ส่งเสริม การดำเนินชีวิตตามการบริหารจัดการชุมชนที่ดี 5. ส่งเสริมคุณภาพของประชาชน

check_circle สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ภาพ


ประวัติความเป็นมา
กุยบุรีเป็นเมืองเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ที่ตั้งคือบริเวณบ้านจวนบนในปัจจุบันอยู่หมู่ที่ 2 ต.กุยบุรี ห่างลำน้ำกุยบุรีประมาณ 400 เมตร สมัยกองทัพพม่ายกทัพเข้าตีไทย ต้องเข้ามาทางด่านสิงขรและจะต้องข้ามลำน้ำกุยบุรีบริเวณท่าข้ามซึ่งเป็นส่วน ที่แคบและตื้น เจ้าเมืองกุยได้รวมตัวกันลอบโจมตีทัพพม่า และมักประสบชัยชนะเป็นประจำจนมีสมญานามเรียกขานว่า "เสือกุย" และอบต.กุยบุรีก็ใช้สัญลักษณ์ประจำหน่วยงานเป็นรูปเสือด้วย พ.ศ.2503 กระทรวงมหาดไทยยกฐานะ ต.กุยบุรีเป็นกิ่งอ.กุยบุรี และในวันที่ 19 กรกฎาคม 2506 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอกุยบุรี วันที่ 19 มกราคม 2539 กระทรวงมหาดไทยประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขี้นทั่วประเทศไทย 2,143แห่ง มีผลทำให้สภาตำบลกุยบุรีได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี เลขที่ 825 ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ.2539 มีเนื้อที่ประมาณ 53.15 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 33,219 ไร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอกุยบุรี ประมาณ 5.5 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามถนนเพชรเกษมประมาณ 33.5 กิโลเมตร

สภาพทั่วไป



สภาพทั่วไปของตำบล
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี เลขที่ 825 ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ.2539 มีเนื้อที่ประมาณ 53.15 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 33,219 ไร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอกุยบุรี ประมาณ 5.5 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามถนนเพชรเกษมประมาณ 33.5 กิโลเมตร มีอาณาเขตและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ อาณาเขตตำบล ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหาดขาม ตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีแนวเริ่มต้นจากสันเขาบริเวณพิกัด NP 835341 ไปตามแนวสันเขาลงสู่ทางเกวียนเดิม ถึงสะพานข้ามคลองชลประทานบริเวณพิกัด NP 855333 แล้วไปตามทางเกวียนด้านทิศตะวันออกถึงถนน รพช. สายสำโหรง – หนองตาเสือพิกัด NP 871342 แล้วลงไปตามทางเกวียนเดิมระยะทาง 2 กิโลเมตร วกขึ้นตัดผ่านคลองซอยชลประทานถึงถนน รพช. สายจวนบน – ยางชุม บริเวณพิกัด NP 90333 ตรงป้ายหินหลักเขตตำบลขึ้นไปทางทิศเหนือตามถนนสายลุ่มแสลงระยะทาง 500 เมตร แล้วลงสู่ทางคนเดินถึงลำน้ำคลองกุยบริเวณพิกัด NP 906346 ไปตามลำน้ำคลองกุย ระยะทาง 1.4 กิโลเมตร ถึงถนน รพช. สายประจักษ์พัฒนาปลายน้ำ บริเวณ NP 911357 ไปตามถนนลูกรังทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือข้างสะพานคลองซอยชลประทานไปตามทางเกวียนเดิมถึงถนนทางหลวงสายเพชรเกษม – ยางชุม บริเวณพิกัด NP 914366 ตรงป้ายหินหลักเขตตำบล แล้วไปทางทิศเหนือผ่านคลองซอยชลประทานบริเวณพิกัด NP 614367 ระยะทาง 1 กิโลเมตร ถึงลำรางน้ำบริเวณพิกัด NP 914376 ไปตามลำน้ำด้านทิศตะวันออกผ่านคลองซอยชลประทานลงสู่ถนนดินโดยใช้กึ่งกลางถนนดินเป็นแนวแบ่งเขตถนนเพชรเกษม กิโลเมตรที่ 289+200 NP 933376 ไปตามทางเกวียนด้านทิศตะวันออกถึงทางรถไฟสายใต้กิโลเมตรที่ 267+110 บริเวณพิกัด NP 947377 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 17 กิโลเมตร ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากทางรถไฟ สายใต้ กิโลเมตรที่ 257+110 บริเวณพิกัด NP 947377 ลงไปตามทางรถไฟสายใต้โดยใช้ทางรถไฟสายใต้เป็นแนวแบ่งเขตตัดผ่านถนน รพช. สายกุยบุรี- โพธิ์เรียง บริเวณพิกัด NP 953342 ใกล้กับสถานีรถไฟกุยบุรีไปทางทิศใต้ตามแนวทางรถไฟสายใต้ ถึงสะพานโค้งตัดคลองกุยบุรี บริเวณพิกัด NP 963332 ไปตามแนวทางรถไฟสายใต้ ถึงกิโลเมตรที่ 276+800 บริเวณพิกัด NP 947291 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 9 กิโลเมตร ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ่อนอก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากทางรถไฟสายใต้ กิโลเมตรที่ 276+800 บริเวณพิกัด NP 947291 ไปตามทางเกวียนเดิมด้านทิศตะวันออกตกตัดกับถนนเพชรเกษม กิโลเมตรที่ 297+800 บริเวณพิกัด NP 921295 ลงสู่ทางเกวียนเดิมถึงบริเวณพิกัด NP 830305 ไปทางทิศตะวันตกตามแนวกึ่งกลางลำห้วยบ่อนอก – หนองกระทิง ถึงหุบเขาทางจันทรบริเวณพิกัด NP 816301 ไปทางทิศตะวันตกตามแนวสันเขา ถึงสันเขาบริเวณพิกัด NP 794296 รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากสันเขาบริเวณพิกัด NP 794296 ไปตามแนวสันเขาถึงบริเวณ พิกัด NP 814329 และถึงสันเขาบริเวณพิกัด NP 835341 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 6.5 กิโลเมตรเนื้อที่ (แสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่) องค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี มีเนื้อที่จำนวน 53.15 ตารางกิโลเมตรหรือ 33,219 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ (แสดงภูมิประเทศของ อบต. กุยบุรี) ลักษณะภูมิประเทศของตำบลกุยบุรี ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาลาดจากเทือกเขาตะนาวศรี ทางทิศตะวันตกลงมาทางทิศตะวันออก พื้นที่ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วมเหมาะสำหรับทำอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในตำบลที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาศักยภาพในตำบลกุยบุรี ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศในเขตตำบลกุยบุรี แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ 1. ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม 2. ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนพฤศจิกายน 3. ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรีมีเนื้อที่ประมาณ 53.15 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 33,219 ไร่ ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน มีประชากร รวมทั้งสิ้น 2,757 คน แยกเป็น ชาย 1,344 คน หญิง 1,413 คน โดยแบ่งเขตการปกครองดังนี้ หมู่ที่ หมู่บ้าน ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง 1 บ้านโรงกุลี นายประจักษ์ สายน้ำเขียว ผู้ใหญ่บ้าน 2 บ้านบน นายณรงค์ศักดิ์ พิพัฒน์เสถียรไทย กำนันตำบลกุยบุร 3 บ้านหนองมะซาง นายสามารถ แดงโชติ ผู้ใหญ่บ้าน 5 บ้านหนองตาเสือ นายนิรันดร์ บุญส่ง ผู้ใหญ่บ้าน 6 บ้านหนองกระทิง นายทูล ทองแผ่น ผู้ใหญ่บ้าน 7 บ้านหนองหมู นายอำนาจ ไหลล้น ผู้ใหญ่บ้าน 8 บ้านท่าข้าม นายมนตรี บุญเกิด ผู้ใหญ่บ้าน ท้องถิ่นใกล้เคียง เทศบาลจำนวน 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลกุยบุรี องค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง คือ อบต.เขาแดง อบต.หาดขาม อบต.ดอนยายหนู อบต.สามกระทาย อบต.กุยเหนือ องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอกุยบุรี 6 แห่ง คือ อบต.กุยบุรี อบต.หาดขาม อบต.เขาแดง อบต.กุยเหนือ อบต.สามกระทาย อบต.ดอนยายหนู จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านในเขตอบต.กุยบุรี มีจำนวน 7 หมู่บ้าน มีพื้นที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี บางส่วน มี 5 หมู่บ้าน มีพื้นที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี เต็มพื้นที่ มี 2 หมู่บ้าน หมู่ที่ หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 1 บ้านโรงกุลี พื้นที่ของอบต. บางส่วน 2 บ้านบน พื้นที่ของอบต. บางส่วน 3 บ้านหนองมะซาง พื้นที่ของอบต. บางส่วน 5 บ้านหนองตาเสือ พื้นที่ของอบต. เต็มพื้นที่ 6 บ้านหนองกระทิง พื้นที่ของอบต. เต็มพื้นที่ 7 บ้านหนองหมู พื้นที่ของอบต. บางส่วน 8 บ้านท่าข้าม พื้นที่ของอบต. บางส่วน ประชากร ประชากรทั้งสิ้น 2,757 คน แยกเป็น ชาย 1,344 คน หญิง 1,413 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 52.04 คน / ตารางกิโลเมตร โดยจำแนกจำนวนประชากรออกเป็น 7 หมู่บ้าน ดังนี้ จำนวนประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ. เดือนกันยายน 2556 หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร ชาย(คน) หญิง(คน) รวม(คน) 1 บ้านโรงกุลี 29 58 54 112 2 บ้านบน 90 100 97 197 3 บ้านหนองมะซาง 67 104 100 204 5 บ้านหนองตาเสือ 341 595 642 1,237 6 บ้านหนองกระทิง 126 218 217 435 7 บ้านหนองหมู 188 170 200 370 8 บ้านท่าข้าม 74 99 103 202 - ทะเบียนบ้านกลาง - - - - รวม 915 1,344 1,413 2,757

แผนที่แสดงเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี


สภาพทางสังคม
การศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ 1. โรงเรียนบ้านหนองตาเสือ หมู่ที่ 5 2. โรงเรียนบ้านหนองกระทิง หมู่ที่ 6 3. โรงเรียนบ้านหนองหมู หมูที่ 7 - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน / ห้องสมุดประชาชน 8 แห่ง ได้แก่ 1. หมู่ที่ 1 2. หมู่ที่ 2 3. หมู่ที่ 3 4. หมู่ที่ 5 5. หมู่ที่ 6 6. หมู่ที่ 7 7. หมู่ที่ 8 8. อบต.กุยบุรี สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด 1 แห่ง ได้แก่ 1. วัดหนองตาเสือ หมู่ที่ 5 สาธารณสุข - โรงพยาบาลของรัฐขนาด 30 เตียง 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกุยบุรี หมู่ที่ 5 - สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 1 แห่ง ได้แก่ สถานีอนามัยบ้านหนองมะซาง หมู่ที่ 3 - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100%

สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ (แสดงอาชีพของประชากรในเขต อบต.) ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบอาชีพ - ด้านการเกษตร ได้แก่ การทำไร่สับปะรด การทำนา การปลูกมะพร้าว ปลูกว่านหางจระเข้ - ด้านการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโคนม โคเนื้อ เลี้ยงไก่ เลี้ยงสุกร - ด้านการประมง ได้แก่ การเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา และยังมีประชากรบางส่วนที่มีอาชีพรับจ้างและค้าขาย หน่วยธุรกิจในเขต อบต. - ประเภทกิจการร้านค้าเบ็ดเตล็ด จำนวน 24 แห่ง - ประเภทกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ จำนวน 6 แห่ง - ประเภทกิจการอู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ จำนวน 1 แห่ง - ประเภทกิจการห้องเช่า จำนวน 12 แห่ง - ประเภทกิจการรับซื้อของเก่า จำนวน 2 แห่ง - ประเภทกิจการโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 3 แห่ง - หจก.มาลีเจริญทรัพย์ผลไม้ จำกัด หมู่ที่ 7 บ้านหนองหมู - โรงงานยาง บริษัท เอ็ม ซี คอนสตรัคชั่น 1979 จำกัด - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค - ประเภทกิจการให้บริการ จำนวน ๒ แห่ง - ตู้โทรศัพท์สาธารณะ - เสาส่งสัญญาณดีแทค

ด้านการบริการพื้นฐาน
การคมนาคม (แสดงจำนวนและสภาพทางคมนาคมทางบก) - ทางรถยนต์ มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม เป็นสายหลักในการคมนาคม - ทางรถไฟ ทางรถไฟทอดตัวจากทางทิศเหนือ จรดทิศใต้ ขนานไปกับถนนเพชรเกษม ภายในองค์การบริหารส่วนตำบล แยกเป็น - ถนนลาดยาง จำนวน 12 สาย - ถนนลูกรัง จำนวน 60 สาย - ถนนคอนกรีต จำนวน 24 สาย - ถนนหินคลุก จำนวน 15 สาย - ถนนดิน จำนวน 31 สาย การโทรคมนาคม - โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 4 ตู้ การไฟฟ้า - มีสถานีไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาเสือ - มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน แต่เข้าไม่เต็มพื้นที่ ประชากรบางส่วนยังไม่มีไฟฟ้าใช้แต่จำนวนไม่มากนักในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรีได้ตั้งงบประมาณบางส่วนขยายเขตไฟฟ้าและติดตั้งโคมไฟฟ้าสาธารณะให้กับทุกหมู่บ้าน แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ , ลำห้วย - บึง , หนอง และอื่น ๆ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย 6 แห่ง - บ่อน้ำตื้น 1 แห่ง - บ่อโยก 5 แห่ง - ประปาหมู่บ้าน 3 แห่ง ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ทรัพยากรน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี ไม่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ประชากรส่วนใหญ่ใช้น้ำจากคลองชลประทาน บ่อบาดาล สระน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภค – บริโภค และใช้ในการเกษตร ป่าไม้ องค์การบริหารส่วนตำบล มีพื้นที่บางส่วนเป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยอยู่ในหมู่ที่ 6 มวลชนจัดตั้ง - ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น 160 คน - ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น 20 คน - กองทุนเพื่อความมั่นคงของชาติ 1 รุ่น 30 คน - อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 2 รุ่น 70 คน - อปพร. 2 หมู่บ้าน - หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาเสือ - หมู่ที่ 6 บ้านหนองกระทิง - หมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง 3 หมู่บ้าน - หมู่ที่ 3 บ้านหนองมะซาง - หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาเสือ - หมู่ที่ 6 บ้านหนองกระทิง


× องค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี